วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อาณาจักรกัมพูชา


ราชอาณาจักรกัมพูชา 

ประเทศกัมพูชานั้นแต่เดิม     เป็นอาณาจักรขอมโบราณจากหลักฐานต่างๆที่ยังปรากฎอยู่เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มรดกทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่    ได้แก่   นครวัด  เมืองหลวงของกัมพูชา
คือ พนมเปญ




การปกครอง
            
             ปัจจุบันกัมพูชาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ   และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายรัฐบาล   ปัจจุบันกัมพูชามีความกาวหน้า ฝ่ายต่างๆมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น


เศรษฐกิจ

              หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้เริ่มฟื้นฟูประเทศ มีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่ม มีการค้าขายกับต่างประเทศ  กัมพูชามีนโยบายที่มุ่งพัฒนา การเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ     สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ เช่น ข้าว ไม้ยางพารา ข้างโพด ถั่วเหลือง ปลา
สินค้าที่นำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมัน บุหรี่ ทอง วัสดุก่อสร้าง



สังคม 
         
           ประชากรส่วนใหญ่ของกัมพูชามีหายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวเขมร ที่เหลือเป็นชาวเวียดนาม จีน และอื่นๆ ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ และมีการใช้ภาษาอืนๆอีกด้วย เช่น ฝรั่งเศส





วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประโยชน์จากน้ำซาวข้าว

น้ำซาวข้าว มี 2 ประเภท
1.น้ำข้าวที่เกิดจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ(อันนี้คงทำยากไปหน่อย)
เหมาะสำหรับใช้ดื่ม วิธีทำน้ำข้าวอย่างง่ายที่สุดคือ
คือต้มข้าวเดือดแล้ว รินน้ำข้าวออก แล้วราไฟเพื่อดงข้าวให้สุก นำน้ำที่รินออกมาผสม เกลือเล็กน้อย แล้วดื่มจะได้รสชาติที่นุ่มนวล และที่สำคัญมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากจริงๆ

2.น้ำข้าวที่เกิดจากการซาวข้าวแม้จะไม่ใช้การหุงข้าวแบบอดีตแล้ว แต่ทุกบ้านยังต้องล้างข้าวสารก่อนหุง
น้ำซาวครั้งแรกอาจมีฝุ่นสกปรกมาก ให้ใช้น้ำซาวข้าวครั้งที่สอง
ซึ่งน้ำข้าวชนิดนี้มีสรรพคุณคือเป็นยารสเย็นเช่นกัน ในยุคที่น้ำข้าวจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำหายาก ใช้น้ำซาวข้าวน่าจะสะดวกกว่า เชื่อว่าน้ำซาวข้าวขจัดรังแคได้
       1)นำน้ำซาวข้าวใส่กะละมัง ทิ้งให้ตกตะกอน
       2) จากนั้นรินน้ำออก
       3) ใช้น้ำที่ตกตะกอนสระผม 2 ครั้ง
       4) แล้วสระผมด้วยแชมพูอีกครั้ง
       5) ล้างน้ำให้สะอาด ว่ากันว่าผมจะนิ่มปราศจากรังแค

วงการเครื่องสำอางยุคกลับสู่ธรรมชาตินำเอาน้ำซาวข้าวผสมกับมะกรูด หรือฝักส้มป่อย เป็นแชมพูสระผมแก้รังแค บำรุงหนังศีรษะ และช่วยรักษาเส้นผมด้วย

วิธีนำน้ำซาวข้าวมาใช้ประโยชน์

1.น้ำซาวข้าวช่วยรักษาสิวบนใบหน้า    มีสรรพคุณ  รักษาสิวฝ้าบนใบหน้า ทำให้หน้าขาวนวล นุ่มนิ่ม
    วิธีใช้   : นำน้ำซาวข้าวที่สะอาดมาชำระล้างใบหน้า ทุกเช้าและเย็น หรือทุกครั้งเมื่อมีโอกาส จะทำให้ใบหน้าขาวนวล ลดการ เกิดสิวได้
2. น้ำซาวข้าวทำให้มือนุ่มได้ถ้าสาวใดเข้าครัวทำอาหารอยู่เป็นประจำ เวลาซาวข้าว มือก็จะกระทบกับข้าวและน้ำที่ใช้ซาว รู้ไหมว่าน้ำซาวข้าวจะทำให้มือ ของคุณนุ่มขึ้น เหมือนในประเทศญี่ปุ่น ในสมัยก่อนบรรดาสาวๆ จะร่วมกันทำข้าว ปั้นข้าว เมื่ออายุมากขึ้นแต่มือทั้งสองยัง ขาวนวล เต่งตึงเหมือนสาวๆไม่มีผิด ฉะนั้นเวลาซาวข้าว ก็ใช้ทั้ง 2 มือ จะได้นุ่มทั้ง 2 มือ
3. น้ำซาวข้าวแก้อาการคันศีรษะและผมมันมีสูตรการทำดังนี้
ส่วนผสม มะกรูด 1 ลูก
น้ำซาวข้าว พอประมาณ
วิธีทำ
1. นำผิวมะกรูดมาตำให้ละเอียด แล้วบีบน้ำมะกรูดลงไป
2. เติมน้ำซาวข้าวอุ่นๆ พอประมาณ คนให้เข้ากันทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 นาที
3. กรองเอาแต่น้ำไปสระผม ระวังอย่าให้เข้าตา ใช้สระผมได้เป็นประจำเท่าที่ต้องการ
จะรู้สึกเบาสบายศีรษะ และช่วยบำรุง หนังศีรษะ แก้อาการคันได้ชะงัดได้
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Healthy ิ by tanrada.com

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

การเขียนความเรียงข้ันสูง

ความเรียงขั้นสูง (Extended – Essay)
              ความเรียงขั้นสูง คือ ลักษณะการเขียนรูปแบบหนึ่งที่มีระบบ มีแบบแผนและมีการศึกษาค้นคว้ามาเป็น
อย่างดีในหัวข้อที่ผู้เขียนสนใจ 
การเขียนความเรียงจะต่างกับเรียงความตรงที่ เรียงความจะมีเพียงเนื้อหาของเรื่องที่จะเขียนโดยแบ่งเป็น
ย่อหน้าหลายย่อหน้า ย่อหน้านำ ย่อหน้าเนื้อหาและย่อหน้าสรุปโดยใส่ความคิดของผู้เขียนได้อย่างไม่จำกัด
การเขียนความเรียงจะต่างกับโครงงานตรงที่โครงงานมีการแบ่งเนื้อหาย่อย(หมวดหมู่จากเรื่องที่เขียน)
โดยแบ่งเป็นบท มีทั้งหมด 5 บท ความเรียงขั้นสูงคือการนำรูปแบบความเรียงมารวมกับโครงงาน  ประกอบไปด้วย
ชื่อเรื่อง (Title  Page)  บทคัดย่อ (Abstract)  สารบัญ (Content  Page)  คำนำ (Introduction)  เนื้อเรื่อง (Body/Method/Result)  บทสรุป (Conclusion)  การแสดงภาพประกอบ(Illustration)  ภาคผนวก (Appendix)เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม (ReFerences)  โดยเนื้อหาจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อย แต่ไม่แบ่งเป็น
บท ๆ ใช้ภาษาวิชาการ ร้อยเรียงอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องโดยการค้นคว้าจากหนังสือหรือ
เว็ปไซต์หลาย ๆ ที่
การ เขียนความเรียงขั้นสูงไม่ใช่การเขียนรายงานและไม่ใช่การเขียนบทความ ข้อสำคัญคือ การเลือกเรื่องก่อน พอได้เรื่องก็มาคัดเลือกหัวข้อเรื่อง ปัญหาของเรื่องที่ผู้เขียนสนใจ จับประเด็นให้ได้แล้วก็ค้นคว้าหาข้อมูลและเขียนตามประเด็นองค์ประกอบของการเขียนความเรียงขั้นสูง
           1.  องค์ประกอบส่วนหน้า   ประกอบด้วย
                        - ปกนอก
                        -
 ปกใน
-         กิตติกรรมประกาศ
-         บทคัดย่อ                       
-         สารบัญ (หากมีภาพต้องระบุสารบัญภาพ ถ้ามีตารางข้อมูลอื่นๆ ต้องมีสารบัญต
       2.  องค์ประกอบส่วนเนื้อเรื่อง   ประกอบด้วย
                           -คำนำ
                           -
เนื้อเรื่อง
                          -
บทสรุป
3. องค์ประกอบส่วนท้าย   ประกอบด้วย
                           - บรรณานุกรม
                           -
  ภาคผนวก   (ประกอบด้วยภาพประกอบต่าง  ตาราง แผนภูมิและอื่น ๆ )
                           -
ประวัติผู้จัดทำ
ขั้นตอนการเขียนความเรียงขั้นสูง  มี ดังนี้
1.  การเขียนโครงร่าง ประกอบด้วย  ชื่อโครงการ  สาระการเรียนรู้/วิชา  ชื่อผู้ค้นคว้าหรือ
เจ้าของผลงานความสำคัญของหัวข้อเรื่องที่ค้นคว้า  วัตถุประสงค์ของการค้นคว้า  ประโยชน์ที่ได้รับจาก
การค้นคว้า  การรวบรวมสรุปข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าพร้อมเอกสารอ้างอิง  วิธีหรือแบบแผนการค้นคว้า  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล
2. การเขียนชื่อเรื่อง   ชื่อเรื่องจะต้องสะท้อนหรือชี้วัดให้เห็นภาพของผลงาน  ซึ่งจะต้องเรียบเรียงเป็นรูปคำถามหรือประเด็นค้นคว้า  ตัวอย่าง  เช่น
                              1.  หัวข้อเรื่อง  :   การออกแบบโทรศัพท์มือถือสำหรับวัยรุ่นไทย
                                   หัวข้อวิจัย   :   องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบโทรศัพท์มือถือสำหรับวัยรุ่นไทย
                              2.  หัวข้อเรื่อง  :   ความรุนแรงในครอบครัวไทย
                                   หัวข้อวิจัย   :   ศึกษา/วิเคราะห์สาเหตุของความรุนแรงในครอบครัวไทยและทางแก้ปัญหา
                              3.  หัวข้อเรื่อง  :   การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
                                   หัวข้อวิจัย   :   ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน
                3. การเขียนคำนำ  ประกอบด้วย
                             -  การให้เหตุผลในการเลือกหัวข้อเรื่อง  ความสำคัญและคุณค่าที่ได้จากการศึกษา
                             -  บอกความเป็นมาและความสำคัญของหัวเรื่อง
                             -  ระบุหัวข้อค้นคว้า (Reserch  Question) ให้ชัดเจน
                             -  ระบุผลการค้นคว้า
                             -  ระบุประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการค้นคว้าของนักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้แต่ควร
                                 ค่าสำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติมในครั้งต่อไป
4.       เนื้อเรื่อง  (Body/Method/Result)  เป็น ส่วนสำคัญของผลงานความเรียง ซึ่งผู้เขียนจะต้องลำดับเนื้อหาตามรูปแบบโครงสร้างที่ถูกต้อง โดยจัดลำดับเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยตามธรรมชาติเนื้อหา  การลำดับความคิดหลักและความคิดรองเป็นต้น
5.       บทสรุป (Conclusion) บทสรุปจะต้องมีลักษณะของการสรุป การนำเสนอความคิดรวบยอดที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อเรื่อง  การอ้างอิงหลักฐานประกอบความคิด จบด้วยการเสนอและชี้นำประเด็นที่ค้นพบรวม ทั้งหัวข้อเรื่อง ประเด็น/เรื่อง  ที่ยังไม่ได้ค้นคว้าศึกษาในผลงานชิ้นนี้ แต่ควรค่าแก่การค้นคว้าเป็นผลงานเรื่องต่อไป
                                                                                                                                                               3

6.       การเขียนบทคัดย่อ (Abstract)  การเขียนบทคัดย่อสำหรับผลงานการเขียนความเรียงขั้นสูงต้องไม่เกิน  300  คำและในการเขียนบทคัดย่อ นักเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจว่าไม่ใช่การเขียนคำนำ (Introduction) บทคัดย่อจะต้องมีสาระที่สะท้อนให้เห็นเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง
7.       หน้าสารบัญ (Content  Page)  การเขียนหน้าสารบัญนักเรียนจะต้องลำดับ หัวข้อเรื่อง  เอกสารอ้างอิง  ภาคผนวกและมีเลขหน้ากำกับทุกหัวเรื่อง
8.       การอ้างอิงโดยใช้ภาพประกอบ (Illustration) นักเรียนจะต้องรู้จักใช้ภาพประกอบคำอธิบายความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ
9.       การอ้างอิง/บรรณานุกรม (ReFerences) ในการค้นคว้าข้อมูล นักเรียนจะมีการค้นคว้าจากแหล่งค้นคว้าหลากหลายประเภท  นักเรียนต้องนำเสนอรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงทุกประเภทให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
10.    ภาคผนวก (Appendix) ภาคผนวก คือรายการที่ผู้ทำรายงานต้องการเสนอเพิ่มเติมนอกเหนือ
จากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง รายการเหล่านี้มีความสัมพันธ์และช่วยให้เข้าใจเนื้อเรื่องดีขึ้น เช่น ตัวเลขสถิติ แบบสอบถามตาราง ลำดับ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ภาค ผนวกไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญในการเขียนเรียบเรียงผลงานความเรียงขั้นสูง เอกสารที่นักเรียนสามารถใส่ไว้ในภาคผนวก ได้แก่ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ
11.    การใช้สื่อและวัสดุอื่น ๆ ประกอบ (The  Use of  Other  Media  and  Materials) การใช้วีดิโอเทปและการใช้เทปบันทึกไม่อนุญาตให้ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลเพื่อยืนยันความรู้ที่เกิดจากการค้นคว้า

ตัวอย่างการเขียนความเรียงขั้นสูง คลิกบรรทัดด้านล่างนี้เลยค่ะ
http://wangchang.phrae1.in.th/attachments/017_EE.pdf

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์   หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.3 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น

ที่มา  :   http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page42.htm

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

IPOS cycle คือ ...?

คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
  1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
  2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
  3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
  4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การแก้ปัญหา เปิดเอกสาร Microsoft office ไม่ได้

การที่คอมพิวเตอร์ของเรายังคงใช้โปรแกรม Microsoft office รุ่นเก่า ๆ เป็นเหตุผลที่ทำให้เปิดงานของเพื่อนที่ใช้รุ่นใหม่กว่าไม่ได้ การแก้ปัญหาเหล่านี้ทำได้โดยการติดตั้งโปรแกรมประเภท Viewer

โปรแกรมประเภท Viewer คืออะไร


โปรแกรมที่สามารถเปิดไฟล์ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเต็มจริงๆ? หลังกการติดตั้ง เราสามารถ เปิดไฟล์ พิมพ์ หรือแม้กระทั่งทำซ้ำข้อมูลได้ด้วย ทราบอย่างนี้แล้ว สนใจหรือเปล่า ถ้าใช่ก็สามารถเลือก download โปรแกรม Viewer ในแต่ละตัวได้เลยครับ

Download Microsoft Office 2007 (Viewer)

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ให้นักเรียน ม.3/3- ม. 3/4  ตอบคำถามต่อไปนี้  ภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2554

1.     อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด
2.    อินเตอร์เน็ตเริ่มใช้ครั้งแรกๆ  ใช้ในหน่วยงานใด
3.    อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มเมื่อ ปี พ.ศ. ใด
4.    การเริ่มใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มจากหน่วยงานใดเป็นอันดับแรก

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเภทการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต

หัวข้อ:

ประเภทการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต



การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตมี 2  ประเภทได้แก่ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบเฉพาะตัวและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบเรียกหมายเลข คุณสามารถเลือกประเภทการเชื่อมต่อตามข้อกำหนดในการใช้งานและงบประมาณ

สมศรี   ทำงานเป็นโบรคเกอร์ที่ตลาดหุ้น  เธอใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อติดตามราคาหุ้นอย่างสม่ำเสมอทุกชั่วโมงตลอดวัน  เธอใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากเธอต้องการให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเฉพาะตัว คุณไม่ต้องขอให้มีการเชื่อมต่อจาก ISP ทุกครั้งที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต องค์กรขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัยจำนวนมากใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเฉพาะตัว เนื่องจากองค์กรและมหาวิทยาลัยเหล่านี้ต้องใช้อินเทอร์เน็ตมาก

ที่มา : http://www.microsoft.com/thailand/e-learning/internetandweb.aspx


สมศักดิ์    เป็นพนักงานเต็มเวลา และใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อความอีเมลถึงลูกค้าของบริษัท และทักทายสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว เนื่องจากสมศักดิ์ ต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพียงระยะเวลาสั้นๆ เธอจึงใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบเรียกเลขหมาย สำหรับการเชื่อมต่อแบบเรียกเลขหมาย คุณต้องเชื่อมต่อกับ ISP ทุกครั้งที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต  คุณสามารถตัดการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตหลังจากทำงานเสร็จ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบเรียกเลขหมายมักจะมีราคาต่ำกว่า และมีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลช้ากว่า เมื่อเทียบกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบเฉพาะตัว

การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

ในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต คุณต้องมี......     
     -  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ : อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล คอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือกระทั่งอุปกรณ์แบบพกพา เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์มือถือ 
      - อุปกรณ์เชื่อมต่อ     :  อุปกรณ์เชื่อมต่อ เช่น โมเด็มเพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ต โมเด็มจะแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นข้อมูลอนาล็อกและส่งผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มอาจเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์ หรือเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่ภายนอก
     -  ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(หรือ ISP)  :   ISP เป็นบริษัทที่ให้บริการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ธุรกิจ และองค์กร และอาจให้บริการเพิ่มเติม เช่น พื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนเนื้อหาส่วนบุคคลของคุณ
การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต    มีหลายวิธี
   - เมื่อคุณเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้สายเคเบิล การเชื่อมต่อนั้นจะเรียกว่าการเชื่อมต่อทางกายภาพ
   - เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่รองรับเทคโนโลยีไร้สาย
จะมีการ์ด Wireless Fidelity หรือ Wi-Fi ซึ่งจะให้การสื่อสารแบบไร้สายระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
กับเครือข่าย  การ์ด Wi-Fi นั้นไม่ได้เชื่อมต่อกับ ISP ในทางกายภาพ
  อุปกรณ์อื่นที่คุณต้องใช้ในการเชื่อมต่อแบบไร้สายก็คือจุดที่ใช้งาน (Access Point - AP) อุปกรณ์ AP ใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไร้สายเข้ากับเครือข่ายที่ใช้สาย  เครือข่ายที่ใช้สายนี้อาจเป็นของ ISP จากนั้นคุณจะสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่าน ISP ดังกล่าว


ที่มา : http://www.microsoft.com/thailand/e-learning/internetandweb.aspx

อินเตอร์เน็ต

        ลองนึกถึงสถานการณ์ที่คุณต้องการสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย กับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอื่น ในการนี้ เครือข่ายทั้งสองจะต้องเชื่อมต่อกัน อินเทอร์เน็ตคือกลุ่มของเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลเมื่อคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จะเรียกว่าอยู่ในสถานะออนไลน์คุณสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสื่อสารกับบุคคลทั่วโลกได้ในชั่วพริบตา เมื่อคุณส่งข้อความผ่านอินเทอร์เน็ต ข้อความนั้นจะถูกส่งถึงส่วนใดก็ตามในโลกภายในเวลาไม่กี่วินาที อินเทอร์เน็ตยังช่วยให้คุณได้รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน สถานีข่าวชั้นนำหลายแห่งใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอข่าวล่าสุด
คุณสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการ เช่น ประวัติของคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ คุณยังสามารถเข้าเรียนในหลักสูตรและลงทะเบียนเพื่อทำข้อสอบรับการรับรองผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้คุณสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งให้ความบันเทิงได้เช่นกัน คุณสามารถฟังเพลง เล่นเกม ชมภาพยนตร์ หรือดูภาพของครอบครัวร่วมกัน 

        นอกจากนี้ คุณยังสามารถซื้อและขายสินค้า เช่น หนังสือและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ และยังสามารถชำระค่าสินค้าออนไลน์ โดยระบุรายละเอียดของบัตรเครดิตคุณสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคาร เช่น ดูรายละเอียดของบัญชีธนาคาร และโอนเงินจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่ง ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงมีข้อดีที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้

ที่มา : http://www.microsoft.com/thailand/e-learning/internetandweb.aspx

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สั่งพรินต์ย้อนหลังไม่ต้องนั่งจัดเรียงหน้ากระดาษใหม่

สั่งพรินต์ย้อนหลังไม่ต้องนั่งจัดเรียงหน้ากระดาษใหม่

 ถ้าบ้านของคุณใช้เครื่องพรินต์ที่ไม่มีฟังก์ชันการพิมพ์กระดาษแบบเรียงกระดาษตามหน้าให้โดยอัตโนมัติ ปัญหาหนึ่งที่ต้องเจอก็คือเวลาสั่งพรินตอร์เอกสารออกมาเป็นกระดาษแล้วหน้ากระดาษลำดับแรกจะเป็นหน้าสุดท้ายไล่ไปจนแผ่นสุดท้ายเป็นหน้าแรก อันเนื่องจากลำดับการพิมพ์ที่หน้าแรกมักจะทับอยู่ล่างสุด ทำให้ต้องมานั่งจัดเรียงกระดาษจากหน้าแรกไปหน้าสุดท้ายใหม่ ซึ่งไม่ดีแน่หากมีพรินต์เอกสารเป็นร้อยๆ หน้า และด้วยเทคนิคนี้จะทำให้คุณลดเวลาในการจัดเรียงกระดาษไปได้มากทีเดียวครับ แถมมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากอีกด้วย มาลองทำกันครับ
1.เมื่อเปิดไฟล์เอกสารที่ต้องการสั่งพรินต์แล้วก็ให้ดูว่าเอกสารมีจำนวนหน้าทั้งหมดเท่าไหร่แล้วจำไว้  ในตัวอย่างคือ 14
หน้า 2.กดปุ่ม Office
3.คลิ้กที่เมนู Print  ( หรือกดปุ่ม Ctrl+P แทนขั้นตอนที่ 2-3 ก็ได้)
4.คลิ้กที่ Pages
5.ใส่เลขหน้าโดยใส่เลขหน้าสุดท้าย ขีด หน้าแรก ในตัวอย่างคือหน้าสุดท้าย 14 – 1 หน้าแรก
6.กดปุ่ม OK รอให้พรินต์กระดาษจนเสร็จ ผลลัพธ์ที่ได้คือกระดาษจะเรียงหน้าแรกอยู่บนสุด ส่วนหน้าสุดท้ายก็อยู่ล่างสุด ไม่ตอ้งมานั่จัดเรียงลำดับกระดาษตามหน้าอีกต่อไป

หมายเหตุ
สำหรับใครที่ใช้เครื่องพิมพ์ที่มีฟังก์ชันเรียงหน้ากระดาษอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องใช้เทคนิคนี้นะ เพราะมันจะกลับเป็นเรียงหน้าบนสุดคือแผ่นสุดท้าย


ที่มา : http://ezoffice.wordpress.com/2011/07/20

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ม.1 อ่านทบทวนก่อนสอบกลางภาค

1.  องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์มี 5 หน่วย อะไรบ้าง
2.  ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ในหน่วยใดของคอมพิวเตอร์
3.  โปรแกรม Ms-Excel  ช่วยงานด้านใดได้บ้าง
4. เว็บแคม (web cam) คือ อะไร
5. เว็บที่นิยมใช้ในการช่วยค้นหาข้อมูลเว็บใดที่นักเรียนใช้บ่อยที่สุด (ตอบชื่อที่ถูกต้อง
)
6. ข้อมูล คือ อะไร
7. สารสนเทศ คืออะไร
8.  วิธีการประมวลผลข้อมูล มีอะไรบ้าง

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการอ่าน ม.6 ครั้งที่ 1

นักเรียน ทุกคนบันทึกการอ่านภาษาคอมพิวเตอร์ คนละ 1 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องส่งคนละครั้งกันจากหนังสือพิมพ์ / วารสาร / อินเตอร์เน็ต โดยระบุหัวข้อที่อ่าน ดังนี้ค่ะ
1. ครั้งที่อ่าน ......... วันที่อ่าน ......./.../...   เรื่องที่อ่าน.............................................
2. สาระสำคัญ (สรุปใจความตามความเข้าใจของตนเอง)
3. ถามตอบจากเรื่องที่อ่าน 2 ข้อ
4. แหล่งที่มา  หมายถึง อ่านมาจากไหน ให้ระบุดังนี้
                - ชื่อเว็บไซต์
                - ชื่อหนังสือ+ผู้แต่ง
                - ชื่อวารสาร+คอลัมภ์+ฉบับที่ ปีที่
                - ชื่อหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ วันที่ หน้า
5. ชื่อ-สกุลผู้อ่าน  ชั้น  เลขที่
หมดเขต  31 กรกฎาคม 2554  ก่อนเวลา 24.00 น.

บันทึกการอ่าน ม.5 ครั้งที่

นักเรียน ทุกคนบันทึกการอ่านภาษาคอมพิวเตอร์คนละ 1 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องส่งคนละครั้งกันจากหนังสือพิมพ์ / วารสาร / อินเตอร์เน็ต โดยระบุหัวข้อที่อ่าน ดังนี้ค่ะ
1. ครั้งที่อ่าน ......... วันที่อ่าน ......./.../...   เรื่องที่อ่าน.............................................
2. สาระสำคัญ (สรุปใจความตามความเข้าใจของตนเอง)
3. ถามตอบจากเรื่องที่อ่าน 2 ข้อ
4. แหล่งที่มา  หมายถึง อ่านมาจากไหน ให้ระบุดังนี้
                - ชื่อเว็บไซต์
                - ชื่อหนังสือ+ผู้แต่ง
                - ชื่อวารสาร+คอลัมภ์+ฉบับที่ ปีที่
                - ชื่อหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ วันที่ หน้า
5. ชื่อ-สกุลผู้อ่าน  ชั้น  เลขที่
หมดเขต  31 กรกฎาคม 2554  ก่อนเวลา 24.00 น.

บันทึกการอ่าน ม.3/4 คร้ังที่ 2

นักเรียน ทุกคนบันทึกการอ่านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คนละ 1 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องส่งคนละครั้งกันจากหนังสือพิมพ์ / วารสาร / อินเตอร์เน็ต โดยระบุหัวข้อที่อ่าน ดังนี้ค่ะ
1. ครั้งที่อ่าน ......... วันที่อ่าน ......./.../...   เรื่องที่อ่าน.............................................
2. สาระสำคัญ (สรุปใจความตามความเข้าใจของตนเอง)
3. ถามตอบจากเรื่องที่อ่าน 2 ข้อ
4. แหล่งที่มา  หมายถึง อ่านมาจากไหน ให้ระบุดังนี้
                - ชื่อเว็บไซต์
                - ชื่อหนังสือ+ผู้แต่ง
                - ชื่อวารสาร+คอลัมภ์+ฉบับที่ ปีที่
                - ชื่อหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ วันที่ หน้า
5. ชื่อ-สกุลผู้อ่าน  ชั้น  เลขที่
หมดเขต  31 กรกฎาคม 2554  ก่อนเวลา 24.00 น.

บันทึกการอ่าน ม.3/3 ครั้งที่ 2

นักเรียน ทุกคนบันทึกการอ่านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คนละ 1 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องส่งคนละครั้งกันจากหนังสือพิมพ์ / วารสาร / อินเตอร์เน็ต โดยระบุหัวข้อที่อ่าน ดังนี้ค่ะ
1. ครั้งที่อ่าน ......... วันที่อ่าน ......./.../...   เรื่องที่อ่าน.............................................
2. สาระสำคัญ (สรุปใจความตามความเข้าใจของตนเอง)
3. ถามตอบจากเรื่องที่อ่าน 2 ข้อ
4. แหล่งที่มา  หมายถึง อ่านมาจากไหน ให้ระบุดังนี้
                - ชื่อเว็บไซต์
                - ชื่อหนังสือ+ผู้แต่ง
                - ชื่อวารสาร+คอลัมภ์+ฉบับที่ ปีที่
                - ชื่อหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ วันที่ หน้า
5. ชื่อ-สกุลผู้อ่าน  ชั้น  เลขที่
หมดเขต  31 กรกฎาคม 2554  ก่อนเวลา 24.00 น.

บันทึกการอ่านนักเรียน นักเรียนกลุ่มพิเศษช่วงชั้นที่ 4

นักเรียน ทุกคนบันทึกการอ่านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คนละ 4 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องส่งคนละครั้งกันจากหนังสือพิมพ์ / วารสาร / อินเตอร์เน็ต โดยระบุหัวข้อที่อ่าน ดังนี้ค่ะ
1. ครั้งที่อ่าน ......... วันที่อ่าน ......./.../...   เรื่องที่อ่าน.............................................
2. สาระสำคัญ (สรุปใจความตามความเข้าใจของตนเอง)
3. ถามตอบจากเรื่องที่อ่าน 2 ข้อ
4. แหล่งที่มา  หมายถึง อ่านมาจากไหน ให้ระบุดังนี้
                - ชื่อเว็บไซต์
                - ชื่อหนังสือ+ผู้แต่ง
                - ชื่อวารสาร+คอลัมภ์+ฉบับที่ ปีที่
                - ชื่อหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ วันที่ หน้า
5. ชื่อ-สกุลผู้อ่าน  ชั้น  เลขที่

กำหนดส่ง   ภายใน 1 สิงหาคม 2554  ก่อน 12.00 น.

การทำบันทึกการอ่าน นักเรียนกลุ่มพิเศษ ช่วงชั้นที่3

นักเรียน ทุกคนบันทึกการอ่านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คนละ 4 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องส่งคนละครั้งกันจากหนังสือพิมพ์ / วารสาร / อินเตอร์เน็ต โดยระบุหัวข้อที่อ่าน ดังนี้ค่ะ
1. ครั้งที่อ่าน ......... วันที่อ่าน ......./.../...   เรื่องที่อ่าน.............................................
2. สาระสำคัญ (สรุปใจความตามความเข้าใจของตนเอง)
3. ถามตอบจากเรื่องที่อ่าน 2 ข้อ
4. แหล่งที่มา  หมายถึง อ่านมาจากไหน ให้ระบุดังนี้
                - ชื่อเว็บไซต์
                - ชื่อหนังสือ+ผู้แต่ง
                - ชื่อวารสาร+คอลัมภ์+ฉบับที่ ปีที่
                - ชื่อหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ วันที่ หน้า
5. ชื่อ-สกุลผู้อ่าน  ชั้น  เลขที่

ทบทวน ม.3

1. จงบอกความแตกต่างระหว่างหน่วยความจำ ROM กับ หน่วยความจำ RAM
2. บอกความเหมือนและความต่างของ หน่วยความจำหลัก กับ หน่วยความจำรอง