วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประโยชน์จากน้ำซาวข้าว

น้ำซาวข้าว มี 2 ประเภท
1.น้ำข้าวที่เกิดจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ(อันนี้คงทำยากไปหน่อย)
เหมาะสำหรับใช้ดื่ม วิธีทำน้ำข้าวอย่างง่ายที่สุดคือ
คือต้มข้าวเดือดแล้ว รินน้ำข้าวออก แล้วราไฟเพื่อดงข้าวให้สุก นำน้ำที่รินออกมาผสม เกลือเล็กน้อย แล้วดื่มจะได้รสชาติที่นุ่มนวล และที่สำคัญมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากจริงๆ

2.น้ำข้าวที่เกิดจากการซาวข้าวแม้จะไม่ใช้การหุงข้าวแบบอดีตแล้ว แต่ทุกบ้านยังต้องล้างข้าวสารก่อนหุง
น้ำซาวครั้งแรกอาจมีฝุ่นสกปรกมาก ให้ใช้น้ำซาวข้าวครั้งที่สอง
ซึ่งน้ำข้าวชนิดนี้มีสรรพคุณคือเป็นยารสเย็นเช่นกัน ในยุคที่น้ำข้าวจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำหายาก ใช้น้ำซาวข้าวน่าจะสะดวกกว่า เชื่อว่าน้ำซาวข้าวขจัดรังแคได้
       1)นำน้ำซาวข้าวใส่กะละมัง ทิ้งให้ตกตะกอน
       2) จากนั้นรินน้ำออก
       3) ใช้น้ำที่ตกตะกอนสระผม 2 ครั้ง
       4) แล้วสระผมด้วยแชมพูอีกครั้ง
       5) ล้างน้ำให้สะอาด ว่ากันว่าผมจะนิ่มปราศจากรังแค

วงการเครื่องสำอางยุคกลับสู่ธรรมชาตินำเอาน้ำซาวข้าวผสมกับมะกรูด หรือฝักส้มป่อย เป็นแชมพูสระผมแก้รังแค บำรุงหนังศีรษะ และช่วยรักษาเส้นผมด้วย

วิธีนำน้ำซาวข้าวมาใช้ประโยชน์

1.น้ำซาวข้าวช่วยรักษาสิวบนใบหน้า    มีสรรพคุณ  รักษาสิวฝ้าบนใบหน้า ทำให้หน้าขาวนวล นุ่มนิ่ม
    วิธีใช้   : นำน้ำซาวข้าวที่สะอาดมาชำระล้างใบหน้า ทุกเช้าและเย็น หรือทุกครั้งเมื่อมีโอกาส จะทำให้ใบหน้าขาวนวล ลดการ เกิดสิวได้
2. น้ำซาวข้าวทำให้มือนุ่มได้ถ้าสาวใดเข้าครัวทำอาหารอยู่เป็นประจำ เวลาซาวข้าว มือก็จะกระทบกับข้าวและน้ำที่ใช้ซาว รู้ไหมว่าน้ำซาวข้าวจะทำให้มือ ของคุณนุ่มขึ้น เหมือนในประเทศญี่ปุ่น ในสมัยก่อนบรรดาสาวๆ จะร่วมกันทำข้าว ปั้นข้าว เมื่ออายุมากขึ้นแต่มือทั้งสองยัง ขาวนวล เต่งตึงเหมือนสาวๆไม่มีผิด ฉะนั้นเวลาซาวข้าว ก็ใช้ทั้ง 2 มือ จะได้นุ่มทั้ง 2 มือ
3. น้ำซาวข้าวแก้อาการคันศีรษะและผมมันมีสูตรการทำดังนี้
ส่วนผสม มะกรูด 1 ลูก
น้ำซาวข้าว พอประมาณ
วิธีทำ
1. นำผิวมะกรูดมาตำให้ละเอียด แล้วบีบน้ำมะกรูดลงไป
2. เติมน้ำซาวข้าวอุ่นๆ พอประมาณ คนให้เข้ากันทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 นาที
3. กรองเอาแต่น้ำไปสระผม ระวังอย่าให้เข้าตา ใช้สระผมได้เป็นประจำเท่าที่ต้องการ
จะรู้สึกเบาสบายศีรษะ และช่วยบำรุง หนังศีรษะ แก้อาการคันได้ชะงัดได้
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Healthy ิ by tanrada.com

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

การเขียนความเรียงข้ันสูง

ความเรียงขั้นสูง (Extended – Essay)
              ความเรียงขั้นสูง คือ ลักษณะการเขียนรูปแบบหนึ่งที่มีระบบ มีแบบแผนและมีการศึกษาค้นคว้ามาเป็น
อย่างดีในหัวข้อที่ผู้เขียนสนใจ 
การเขียนความเรียงจะต่างกับเรียงความตรงที่ เรียงความจะมีเพียงเนื้อหาของเรื่องที่จะเขียนโดยแบ่งเป็น
ย่อหน้าหลายย่อหน้า ย่อหน้านำ ย่อหน้าเนื้อหาและย่อหน้าสรุปโดยใส่ความคิดของผู้เขียนได้อย่างไม่จำกัด
การเขียนความเรียงจะต่างกับโครงงานตรงที่โครงงานมีการแบ่งเนื้อหาย่อย(หมวดหมู่จากเรื่องที่เขียน)
โดยแบ่งเป็นบท มีทั้งหมด 5 บท ความเรียงขั้นสูงคือการนำรูปแบบความเรียงมารวมกับโครงงาน  ประกอบไปด้วย
ชื่อเรื่อง (Title  Page)  บทคัดย่อ (Abstract)  สารบัญ (Content  Page)  คำนำ (Introduction)  เนื้อเรื่อง (Body/Method/Result)  บทสรุป (Conclusion)  การแสดงภาพประกอบ(Illustration)  ภาคผนวก (Appendix)เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม (ReFerences)  โดยเนื้อหาจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อย แต่ไม่แบ่งเป็น
บท ๆ ใช้ภาษาวิชาการ ร้อยเรียงอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องโดยการค้นคว้าจากหนังสือหรือ
เว็ปไซต์หลาย ๆ ที่
การ เขียนความเรียงขั้นสูงไม่ใช่การเขียนรายงานและไม่ใช่การเขียนบทความ ข้อสำคัญคือ การเลือกเรื่องก่อน พอได้เรื่องก็มาคัดเลือกหัวข้อเรื่อง ปัญหาของเรื่องที่ผู้เขียนสนใจ จับประเด็นให้ได้แล้วก็ค้นคว้าหาข้อมูลและเขียนตามประเด็นองค์ประกอบของการเขียนความเรียงขั้นสูง
           1.  องค์ประกอบส่วนหน้า   ประกอบด้วย
                        - ปกนอก
                        -
 ปกใน
-         กิตติกรรมประกาศ
-         บทคัดย่อ                       
-         สารบัญ (หากมีภาพต้องระบุสารบัญภาพ ถ้ามีตารางข้อมูลอื่นๆ ต้องมีสารบัญต
       2.  องค์ประกอบส่วนเนื้อเรื่อง   ประกอบด้วย
                           -คำนำ
                           -
เนื้อเรื่อง
                          -
บทสรุป
3. องค์ประกอบส่วนท้าย   ประกอบด้วย
                           - บรรณานุกรม
                           -
  ภาคผนวก   (ประกอบด้วยภาพประกอบต่าง  ตาราง แผนภูมิและอื่น ๆ )
                           -
ประวัติผู้จัดทำ
ขั้นตอนการเขียนความเรียงขั้นสูง  มี ดังนี้
1.  การเขียนโครงร่าง ประกอบด้วย  ชื่อโครงการ  สาระการเรียนรู้/วิชา  ชื่อผู้ค้นคว้าหรือ
เจ้าของผลงานความสำคัญของหัวข้อเรื่องที่ค้นคว้า  วัตถุประสงค์ของการค้นคว้า  ประโยชน์ที่ได้รับจาก
การค้นคว้า  การรวบรวมสรุปข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าพร้อมเอกสารอ้างอิง  วิธีหรือแบบแผนการค้นคว้า  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล
2. การเขียนชื่อเรื่อง   ชื่อเรื่องจะต้องสะท้อนหรือชี้วัดให้เห็นภาพของผลงาน  ซึ่งจะต้องเรียบเรียงเป็นรูปคำถามหรือประเด็นค้นคว้า  ตัวอย่าง  เช่น
                              1.  หัวข้อเรื่อง  :   การออกแบบโทรศัพท์มือถือสำหรับวัยรุ่นไทย
                                   หัวข้อวิจัย   :   องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบโทรศัพท์มือถือสำหรับวัยรุ่นไทย
                              2.  หัวข้อเรื่อง  :   ความรุนแรงในครอบครัวไทย
                                   หัวข้อวิจัย   :   ศึกษา/วิเคราะห์สาเหตุของความรุนแรงในครอบครัวไทยและทางแก้ปัญหา
                              3.  หัวข้อเรื่อง  :   การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
                                   หัวข้อวิจัย   :   ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน
                3. การเขียนคำนำ  ประกอบด้วย
                             -  การให้เหตุผลในการเลือกหัวข้อเรื่อง  ความสำคัญและคุณค่าที่ได้จากการศึกษา
                             -  บอกความเป็นมาและความสำคัญของหัวเรื่อง
                             -  ระบุหัวข้อค้นคว้า (Reserch  Question) ให้ชัดเจน
                             -  ระบุผลการค้นคว้า
                             -  ระบุประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการค้นคว้าของนักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้แต่ควร
                                 ค่าสำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติมในครั้งต่อไป
4.       เนื้อเรื่อง  (Body/Method/Result)  เป็น ส่วนสำคัญของผลงานความเรียง ซึ่งผู้เขียนจะต้องลำดับเนื้อหาตามรูปแบบโครงสร้างที่ถูกต้อง โดยจัดลำดับเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยตามธรรมชาติเนื้อหา  การลำดับความคิดหลักและความคิดรองเป็นต้น
5.       บทสรุป (Conclusion) บทสรุปจะต้องมีลักษณะของการสรุป การนำเสนอความคิดรวบยอดที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อเรื่อง  การอ้างอิงหลักฐานประกอบความคิด จบด้วยการเสนอและชี้นำประเด็นที่ค้นพบรวม ทั้งหัวข้อเรื่อง ประเด็น/เรื่อง  ที่ยังไม่ได้ค้นคว้าศึกษาในผลงานชิ้นนี้ แต่ควรค่าแก่การค้นคว้าเป็นผลงานเรื่องต่อไป
                                                                                                                                                               3

6.       การเขียนบทคัดย่อ (Abstract)  การเขียนบทคัดย่อสำหรับผลงานการเขียนความเรียงขั้นสูงต้องไม่เกิน  300  คำและในการเขียนบทคัดย่อ นักเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจว่าไม่ใช่การเขียนคำนำ (Introduction) บทคัดย่อจะต้องมีสาระที่สะท้อนให้เห็นเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง
7.       หน้าสารบัญ (Content  Page)  การเขียนหน้าสารบัญนักเรียนจะต้องลำดับ หัวข้อเรื่อง  เอกสารอ้างอิง  ภาคผนวกและมีเลขหน้ากำกับทุกหัวเรื่อง
8.       การอ้างอิงโดยใช้ภาพประกอบ (Illustration) นักเรียนจะต้องรู้จักใช้ภาพประกอบคำอธิบายความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ
9.       การอ้างอิง/บรรณานุกรม (ReFerences) ในการค้นคว้าข้อมูล นักเรียนจะมีการค้นคว้าจากแหล่งค้นคว้าหลากหลายประเภท  นักเรียนต้องนำเสนอรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงทุกประเภทให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
10.    ภาคผนวก (Appendix) ภาคผนวก คือรายการที่ผู้ทำรายงานต้องการเสนอเพิ่มเติมนอกเหนือ
จากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง รายการเหล่านี้มีความสัมพันธ์และช่วยให้เข้าใจเนื้อเรื่องดีขึ้น เช่น ตัวเลขสถิติ แบบสอบถามตาราง ลำดับ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ภาค ผนวกไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญในการเขียนเรียบเรียงผลงานความเรียงขั้นสูง เอกสารที่นักเรียนสามารถใส่ไว้ในภาคผนวก ได้แก่ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ
11.    การใช้สื่อและวัสดุอื่น ๆ ประกอบ (The  Use of  Other  Media  and  Materials) การใช้วีดิโอเทปและการใช้เทปบันทึกไม่อนุญาตให้ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลเพื่อยืนยันความรู้ที่เกิดจากการค้นคว้า

ตัวอย่างการเขียนความเรียงขั้นสูง คลิกบรรทัดด้านล่างนี้เลยค่ะ
http://wangchang.phrae1.in.th/attachments/017_EE.pdf